ตัวอย่างแผนจัดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา
ที่บูรณาการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 
เรียบเรียงโดย:: ครูนันทนา สำเภา
วันที่ 31 กรกฎาคม 2557
 

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 12

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์                                         ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ประชากร                               เวลา 4 คาบ
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ความหนาแน่นการแพร่กระจายของประชากร และ ขนาดของประชากร

 

สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต

มาตรฐานที่ ว1.2
เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มี  ผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  สื่อสาร  สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

 

สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

มาตรฐานที่ ว2.1
เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

 

มาตรฐานที่ 2.2
เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศและโลกนำความรู้ไปใช้ ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นที่ยั่งยืน

 

สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มาตรฐานที่ 1.8
ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้  การแก้ปัญหา  รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้  ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี  สังคม  และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

 

ตัวชี้วัด

1. มาตรฐาน ว 1.2 ม.4-6/1  

อธิบายกระบวนการถ่ายทอดสาร   พันธุกรรม การแปรผันทาง พันธุกรรม มิวเทชัน และการเกิด  ความหลากหลายทางชีวภาพ

2.  มาตรฐาน ว 1.2 ม.4-6/3

สืบค้นข้อมูลและอภิปรายผลของความหลากหลายทางชีวภาพ ที่มีต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม   

3.  มาตรฐาน ว 2.1 ม.4-6/3

อธิบายความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ และเสนอแนะแนวทางในการดูแลรักษา

4. มาตรฐาน ว 2.2 ม.4-6/1  

วิเคราะห์สภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับโลก

5.  มาตรฐาน ว 8. 1  ม.4-6/1

ตั้งคำถามที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้และความเข้าใจทาง วิทยาศาสตร์ 

6.   มาตรฐาน ว 8. 1  ม.4-6/2  

สร้างสมมติฐานที่มีทฤษฎีรองรับ หรือคาดการณ์สิ่งที่จะพบ หรือสร้างแบบจำลอง หรือสร้างรูปแบบ เพื่อนำไปสู่การสำรวจตรวจสอบ

7.  มาตรฐาน ว 8. 1  ม.4-6/3

ค้นคว้ารวบรวมข้อมูลที่ต้องพิจารณาปัจจัยหรือ ตัวแปรสำคัญ 
ปัจจัยที่ มีผลต่อปัจจัยอื่น ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้  และจำนวนครั้ง
ของการ สำรวจ  ตรวจสอบ  เพื่อให้ได้ผล ที่มีความเชื่อมั่นอย่าง
เพียงพอ

 

1. สาระสำคัญ

ประชากรหมายถึง สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ความหนาแน่นของประชากร สามารถคาดคะเนหรือประเมินค่าได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบวางแปลงและการทำเครื่องหมายและจับซ้ำ

 

2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

สืบค้นข้อมูลอภิปรายและอธิบายเกี่ยวกับความหมายของประชากร ความหนาแน่นของประชากร อัตราการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร และปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร

 

3. ผลการเรียนรู้

1. นักเรียนสามารถอธิบายความหมายและยกตัวอย่างของคำว่าประชากรในเชิงนิเวศได้
2. นักเรียนสามารถคำนวณความหนาแน่นของประชากรและ อัตราการเปลี่ยนแปลงขนาดของ
ประชากรได้
3. นักเรียนสามารถเปรียบเทียบการแพร่กระจายของประชากรในบริเวณต่างๆได้
4. นักเรียนสามารถอธิบายปัจจัยจำกัดที่มีผลต่อการแพร่กระจายของประชากรได้
5. นักเรียนมีทักษะในภาระงานที่ได้รับมอบหมาย
6. นักเรียนมีความสนใจและความกระตือรือร้น ความรับผิดชอบต่องานที่
ได้รับ มอบหมายทำงานเสร็จทันเวลาที่กำหนด ปฏิบัติตามกฎกติกา ทำงานด้วยความ
ประณีต รอบคอบ

 

4. สาระการเรียนรู้

ประชากร คือ สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
ความหนาแน่นของประชากร หมายถึง จำนวนสิ่งมาชีวิตชนิดเดียวกันต่อหน่วยพื้นที่หรือปริมาตร สามารถประเมินหาความหนาแน่นได้ 2 วิธี คือ
1)  ความหนาแน่นอย่างหยาบ  เป็นการหาจำนวนประชากรต่อพื้นที่ทั้งหมด
2) ความหนาแน่นเชิงนิเวศ เป็นการหาจำนวนหรือมวล ของประชากรต่อหน่วยพื้นที่ ที่ประชากรนั้นอาศัยอยู่จริง
สำรวจหรือนับจำนวนสิ่งมีชีวิตทั้งหมด (total count) ต่อหน่วยพื้นที่ ทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากส่วนใหญ่สิ่งมีชีวิต ไม่ค่อยอยู่กับที่ ดังนั้นวิธีการประเมินค่าความหนาแน่นของประชากรทำได้ดังนี้ คือ
        1) สุ่มตัวอย่างแบบวางแปลง(quadrat sampling method)เหมาะสำหรับสิ่งมีชีวิตที่ค่อนข้างอยู่กับที่ โดยใช้กรอบไม้นับประชากร (quadrat)
        2) ทำเครื่องหมายและจับซ้ำ (mark -and recapture method)
        3) เป็นวิธีทำเครื่องหมายสัตว์ที่จับได้ทุกตัวแล้วปล่อย แล้วจับใหม่นับจำนวนที่ติดเครื่องหมายและไม่ติดเครื่องหมาย

 

การแพร่กระจายของประชากร
        ปัจจัยจำกัดที่มีผลต่อการ แพร่กระจายของประชากร ในแต่ละพื้นที่ ที่มีสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน หรือต่างชนิดกันอาศัยอยู่ในปริมาณที่แตกต่างกันนี้ เนื่องจากมีปัจจัยจำกัด (limiting factor) บางประการที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของประชากรเกิดขึ้นปัจจัยดังกล่าวนั้น ได้แก่ ปัจจัยทางกายภาพ เช่น ความสูงจากระดับน้ำทะเล, อุณหภูมิ , ความเป็นกรด – เบส , แสง
         ปัจจัยทางชีวภาพ โดยสิ่งมีชีวิตบางชนิดเป็นปัจจัยจำกัดต่อสิ่งมีชีวิต เสือหรือสิงโต เป็นปัจจัยจำกัดต่อการอยู่รอดชีวิตของกวางซึ่งเป็นเหยื่อ ผักตบชวาเจริญเติบโตแพร่กระจายอย่างรวดเร็วจนทำให้ผักตบไทยลดจำนวนลงหรือสูญพันธุ์ไป การแพร่ระบาดของหอยเชอรี่มีผลต่อการทำลายพืชผลโดยเฉพาะกล้าข้าว ปัจจัยอื่นๆ เช่น สภาพทางภูมิศาสตร์ที่เป็น ทะเล , ทะเลทราย เทือกเขาสูง เป็นสิ่งกีดขวางไม้ให้สิ่งมีชีวิตไปยังอีกพื้นที่หนึ่งได้

 

5. การบูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.  ความพอประมาณ
-  รู้จักการนำเหตุการณ์ในท้องถิ่นมาอธิบายหรือยกตัวอย่างเกี่ยวกับความหมาย ความหนาแน่นและการแพร่กระจายของประชากรได้

 

2.  ความมีเหตุผล
-  สามารถ  อธิบายเกี่ยวกับความหมาย คำนวณเกี่ยวกับความหนาแน่น เปรียบเทียบการแพร่กระจายของประชากรแบบต่างๆ และอธิบายปัจจัยจำกัดที่มีผลต่อการแพร่กระจายของประชากรได้

 

3.  การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
-  ชื่นชมผลงานของตัวเองและผู้อื่น
-  นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการนำเนินชีวิตอย่างพอเพียง

 

4.  เงื่อนไขความรู้
-  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของประชากร ความหนาแน่น และการแพร่กระจายของประชากรได้
-  รู้หลักการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

5.  เงื่อนไขคุณธรรม
- นักเรียนมีความสนใจและความกระตือรือร้น ความรับผิดชอบต่องานที่
ได้รับ มอบหมายทำงานเสร็จทันเวลาที่กำหนด ปฏิบัติตามกฎกติกา ทำงานด้วยความ
ประณีต รอบคอบ

 

6. กิจกรรมการเรียนรู้

6.1 ขั้นนำ

1. ครูถาม นักเรียนถึงประเด็นต่างๆดังต่อไปนี้
    1.1 นักเรียนสามารถบอกความแตกต่าง ระหว่างคำว่าประชากร กับ คำว่ากลุ่มสิ่งมีชีวิต
หรือไม่ (นักเรียนตอบตามพื้นฐานของความรู้เดิม)
    1.2 นักเรียนให้คำนิยามได้หรือไม่ว่าประชากรคืออะไร
(นักเรียนตอบตามพื้นฐานของความรู้เดิม)

 

6.2 ขั้นสอน

    1. ครูขึ้นหัวข้อที่จะสอน  “ ประชากร  ”
    2. นักเรียนศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับประชากร ความหนาแน่นการแพร่กระจายของประชากร และ ขนาดของประชากร จาก ใบความรู้ เรื่อง ประชากร
    3. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับ ประชากร
    4. นักเรียนศึกษาและทำกิจกรรมที่ 12.1 การหาความหนาแน่นของประชากรในภาคสนามโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบวางแปลง
    5. นักเรียนออกมานำเสนองานใน กิจกรรมที่ 12.1 การหาความหนาแน่นของประชากรในภาคสนามโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบวางแปลง
    6. ครูอธิบายพร้อมยกตัวอย่างเกี่ยวกับความหนาแน่นการแพร่กระจายของประชากร และ ขนาดของประชากร
    7. นักเรียนศึกษาและทำกิจกรรมที่ 12.2 การแพร่กระจายของประชากร
    8. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับกิจกรรมที่ 12.2 การแพร่กระจายของประชากร

 

6.3 ขั้นสรุป

นักเรียนทำแบบทดสอบ เรื่อง ความหนาแน่นการแพร่กระจายของประชากร และ ขนาดของประชากร

 

7. ภาระงาน

    1. ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับประชากร ความหนาแน่นการแพร่กระจายของประชากร และ ขนาดของประชากร จากใบความรู้ เรื่อง ประชากร
    2. ศึกษาและทำกิจกรรมที่ 12.1การหาความหนาแน่นของประชากรในภาคสนามโดยวิธีการสุ่ม
ตัวอย่างแบบวางแปลง
    3.  ศึกษาและทำกิจกรรมที่ 12.2 การแพร่กระจายของประชากร
    4. แบบทดสอบ เรื่อง ความหนาแน่นการแพร่กระจายของประชากร และ ขนาดของประชากร

 

8. การวัดผลประเมินผล

สิ่งที่ต้องประเมิน

ประเด็นการประเมิน

เครื่องมือในการวัด

เกณฑ์การผ่าน

ผู้ประเมิน

 

ด้านความรู้

 

นักเรียนสามารถอธิบายความหมาย
และยกตัวอย่าง ของคำว่าประชากร
ในเชิงนิเวศได้

 

แบบทดสอบ เรื่อง ความหนาแน่น
การแพร่กระจาย ของประชากร และ ขนาดของประชากร

 

ทำคะแนนได้
ร้อยละ 70 ขึ้นไป

 

ครู

 

นักเรียนสามารถคำนวณความหนาแน่น
ของประชากร และ อัตราการ
เปลี่ยนแปลงขนาดของ ประชากรได้

 

แบบทดสอบ เรื่อง ความหนาแน่น
การแพร่กระจายของประชากร และ ขนาดของประชากร

 

ทำคะแนนได้ร้อยละ 70 ขึ้นไป

 

ครู

 

นักเรียนสามารถเปรียบเทียบ
การแพร่กระจายของ
ประชากรในบริเวณต่างๆได้

 

แบบทดสอบ เรื่อง ความหนาแน่น
การแพร่กระจายของประชากร และ ขนาดของประชากร

 

ทำคะแนนได้
ร้อยละ 70 ขึ้นไป

 

ครู

 

นักเรียนสามารถอธิบายปัจจัยจำกัด
ที่มีผลต่อการ แพร่กระจายของ
ประชากรได้

แบบทดสอบ เรื่อง ความหนาแน่น
การแพร่กระจายของประชากร และ ขนาดของประชากร

ทำคะแนนได้
ร้อยละ 70 ขึ้นไป

ครู

 

ด้านทักษะ

 

นักเรียนมีทักษะในภาระงาน
ที่ได้รับมอบหมาย

 

แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน
ด้านทักษะกระบวนการ

 

 

ทำคะแนนได้
ร้อยละ70 ขึ้นไป

 

ครู

 

ด้าน
เจตคติ

 

นักเรียนมีเจตคติที่ดีในด้าน
ความสนใจและความกระตือรือร้น ความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับ
มอบหมายทำงานเสร็จทันเวลา
ที่กำหนด ปฏิบัติตามกฎกติกา
ทำงานด้วยความประณีต รอบคอบ

 

แบบประเมินด้าน
เจตคติ

 

ผ่านการประเมิน

 

ครู

 

9. สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

9.1 สื่อประกอบการจัดกิจกรรม

1. ใบความรู้ เรื่อง ประชากร
2. ใบกิจกรรมที่ 12.1การหาความหนาแน่นของประชากรในภาคสนามโดยวิธีการสุ่ม
ตัวอย่างแบบวางแปลง
3. ใบกิจกรรมที่12.2 การแพร่กระจายของประชากร
4. แบบทดสอบ เรื่อง ความหนาแน่นการแพร่กระจายของประชากร และ ขนาดของประชากร

 

9.2 แหล่งเรียนรู้
1. ห้องปฏิบัติการ
2. หนังสือแบบเรียน
3. หนังสือคู่มือครู
3.  www.google.com   
4.  http://www.nana-bio.com
5. http://th.wikipedia.org/wiki
6. http://www.cyp.ac.th/cyp/chiang/student/bio/pop3/p1.html
7. http://srayaisom.dyndns.org/science/asd3.html

 

10. กิจกรรมเสนอแนะ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

11. บันทึกหลังสอน
ด้านความรู้
นักเรียนทำแบบฝึกหัด
ได้คะแนนร้อยละ 60 ขึ้นไปจำนวน...........คน คิดเป็นร้อยละ..............
ผลการประเมินระดับ1 ต่ำกว่าเกณฑ์  จำนวน        ......................      คน      คิดเป็นร้อยละ..............
ผลการประเมินระดับ2 พอใช้                                   ......................      คน      คิดเป็นร้อยละ..............
ผลการประเมินระดับ3 ดี                                           ......................      คน      คิดเป็นร้อยละ..............
ผลการประเมินระดับ4 ดีมาก                                   ......................      คน      คิดเป็นร้อยละ..............
ผลการประเมินระดับ5 เป็นแบบอย่าง                     ......................      คน      คิดเป็นร้อยละ..............
ด้านทักษะ
นักเรียนผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานด้านทักษะกระบวนการ จำนวน ................คน
คิดเป็นร้อยละ..............
ผลการประเมินระดับ1 ต่ำกว่าเกณฑ์  จำนวน        ......................      คน      คิดเป็นร้อยละ..............
ผลการประเมินระดับ2 พอใช้                                   ......................      คน      คิดเป็นร้อยละ..............
ผลการประเมินระดับ3 ดี                                           ......................      คน      คิดเป็นร้อยละ..............
ผลการประเมินระดับ4 ดีมาก                                    ......................      คน      คิดเป็นร้อยละ..............
ผลการประเมินระดับ5 เป็นแบบอย่าง                      ......................      คน      คิดเป็นร้อยละ..............
ด้านเจตคติ
นักเรียนผ่านการประเมินด้านเจตคติจำนวน ................... คน  คิดเป็นร้อยละ ..........................
ผลการประเมินระดับ1 ต่ำกว่าเกณฑ์  จำนวน        ......................      คน      คิดเป็นร้อยละ..............
ผลการประเมินระดับ2 พอใช้                                   ......................      คน      คิดเป็นร้อยละ..............
ผลการประเมินระดับ3 ดี                                           ......................      คน      คิดเป็นร้อยละ..............
ผลการประเมินระดับ4 ดีมาก                                    ......................      คน      คิดเป็นร้อยละ..............
ผลการประเมินระดับ5 เป็นแบบอย่าง                      ......................      คน      คิดเป็นร้อยละ..............

 

12.   ปัญหาหรือสิ่งที่ต้องพัฒนา
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

13.   ข้อเสนอแนะในการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

 

กลับหน้าหลัก>>>>